เมทัลชีทฉนวนกันความร้อนพียูโฟม (PU Foam) เป็นเทคโนโลยีการฉีดฉนวนหรือโฟมกันความร้อนลงบนพื้นผิวเมทัลชีทหรือวัสดุ สารที่ใช้ฉีดเป็นฉนวนมีชื่อว่า โพลียูรีเทนโฟม (Polyurethane Foam) ที่มีลักษณะเป็นเป็นพลาสติกเหลวชนิดเทอร์โมเซ็ตติ้ง (Thermosetting) มีจุดหลอมเหลวต่ำ นอกจากนี้ พียูโฟมไม่ดูดซับความชื้นและสามารถป้องกันน้ำและป้องกันความชื้นได้ ลดการแผ่รังสีและการนำความร้อนได้มากกว่า 95 % ซึ่งความร้อนโดยส่วนมาก เป็นความร้อนที่เกิดจากการแผ่รังสีความร้อนของแสงอาทิตย์แบบกระจายจากด้านบนหลังคาเมทัลชีทผ่านฝ้าเพดานลงสู่ภายในห้อง นั้นคือต้นเหตุของปัญหาและที่มาของความร้อนส่วนใหญ่ ดังนั้นการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุให้ถูกต้องและถูกจุดก็คือการป้องกัน สกัดกั้นไม่ให้ความร้อนกระจายเข้าภายในอาคารหรือให้ความร้อนส่งผ่านจากด้านนอกเข้ามาในอาคารให้น้อยที่สุด จึงเป็นที่มาของฉนวนกันความร้อนพียูโฟม หรือฉนวนป้องกันความร้อนที่ดีที่สุดในปัจจุบัน
![]() |
1. พียูโฟม (PU Foam) + อลูมิเนียมฟอยล์ (Aluminium Foil Sheet) เป็นวัสดุ Aluminum Foil 7 microns เป็นวัสดุปิดทับ พียูโฟมกับเมทัลชีท ที่มีความทนทานเสริมด้วยเส้นใย Fiberglass ทำให้มีความเหนียวและยืดหยุ่นได้ดี ไม่ขาดง่าย สามารถสะท้อนแสงสว่าง เพื่อเพิ่มความสว่างภายในอาคาร ได้เป็นอย่างดี | |||||||
|
2. พียูโฟม (PU Foam) + พีวีซี (PVC Sheet) สีดำ และขาว หนา 0.075 มม. มีการขึ้นลายเพื่อเสริมความแข็งแกร่งของแผ่น PVC ลักษณะคล้าย Wall Paper เหมาะสำหรับใช้งานภายในอาคาร ที่มีพื้นที่ปิดโดยไม่มีการสัมผัสรังสี UV ที่มาจากแดด เนื่องจากรังสี UV จะทำให้ PVC Sheet มีสีเหลือง กรอบและแตกง่าย | |||||||
|
3. พียูโฟม (PU Foam) + พีวีซี (PVC Sheet) สีดำ และขาว หนา 0.075 มม. มีการขึ้นลายเพื่อเสริมความแข็งแกร่งของแผ่น PVC ลักษณะคล้าย Wall Paper เหมาะสำหรับใช้งานภายในอาคาร ที่มีพื้นที่ปิดโดยไม่มีการสัมผัสรังสี UV ที่มาจากแดด เนื่องจากรังสี UV จะทำให้ PVC Sheet มีสีเหลือง กรอบและแตกง่าย | |||||||
|
4. พียูโฟม (PU Foam) + แผ่นเมทัลชีท (Metal Sheet) มีความหนาตั้งแต่ 1 นิ้วขึ้นไป สามารถเลือกสีได้ตามใจชอบ เหมาะสำหรับใช้งานภายในอาคาร ที่มีการใช้เครื่องปรับอากาศ หรือบริเวณที่มีความเสี่ยงในการเกิดประกายไฟ อายุการใช้งานพียูโฟม เมทัลชีทชนิดนี้ยาวนาน คงทน ไม่หลุดล่อน ไม่มีรอยย่น สวยงาม และช่วยประหยัดพลังงาน |
*หมายเหตุ : ลูกค้าสามารถเลือกความหนาของฉนวนกันความร้อนพียูโฟม (PU Foam) ได้ 2 ขนาดคือ 1 นิ้ว และ 2 นิ้ว
ตารางเปรียบเทียบคุณสมบัติฉนวนกันความร้อน
คุณสมบัติ | พียูโฟม | พีอีโฟม | ใยแก้ว | เยื่อกระดาษ |
โครงสร้างเซลล์ | เซลล์กึ่งเปิด – ปิด | เซลล์ปิด | เซลล์เปิด | เซลล์เปิด |
ความหนาแน่น | 15 – 40 kg/m3 | 33 – 45 kg/m3 | 16 – 32 kg/m3 | 38 – 40 kg/m3 |
ค่าการนำความร้อน | 0.020 – 0.025 W/m.k | 0.030 – 0.037 W/m.k | 0.035 – 0.038 W/m.k | 0.039 – 0.045 W/m.k |
อุณหภูมิใช้งาน | -118 °C ถึง 100 °C | -80 °C ถึง 80 °C | -20 °C ถึง 200 °C | -75 °C ถึง 250 °C |
การกลั่นตัวของไอน้ำรอบวัสดุที่หุ้ม | ไม่เกิดไอน้ำเนื่องจากฉีดติดกับวัสดุหรือแผ่นเมทัลชีท ที่หุ้ม | ไม่เกิดไอน้ำเนื่องจากมีช่องว่างระหว่างแผ่นฉนวนกับแผ่นหลังคาเมทัลชีท | ไม่เกิดไอน้ำเนื่องจากมีช่องว่างระหว่างแผ่นฉนวนกับแผ่นหลังคาเมทัลชีท | ไม่เกิดไอน้ำเนื่องจากมีช่องว่างระหว่างแผ่นฉนวนกับแผ่นหลังคาเมทัลชีท |
ความต้านทานต่อสารเคมี | ทนกรด – ด่าง | ทนกรด – ด่าง | ทนกรด – ด่าง | ทนกรด – ด่าง |
ความแข็งแรง | เนื้อโฟมแข็ง สามารถรับแรงกดได้ดี | เนื้อฉนวนอ่อนนุ่ม ต้องหลีกเลี่ยงในงานที่มี ลักษณะการกดทับ | ฉนวนอ่อนนุ่ม ยุบตัวง่าย | ฉนวนอ่อนนุ่ม ยุบตัวง่าย |
ความสามารถในการป้องกันสนิม | ดีมาก เนื่องจากผิวของ พียูโฟม ช่วยป้องกันมิให้แผ่นหลังคาเมทัลชีทสัมผัสกับอากาศ และความชื้น | ไม่สามารถป้องกันสนิมได้ | ไม่สามารถป้องกันสนิมได้ | ไม่สามารถป้องกันสนิมได้ |
ความสามารถในการป้องกันการซึม | ดีมาก เนื่องจาก พียูโฟม แทรกตัวตามช่องว่าง ที่เป็นสาเหตุของการซึม | ไม่มีคุณสมบัติในการป้องกันการรั่วซึม | ไม่มีคุณสมบัติในการป้องกันการรั่วซึม | ไม่มีคุณสมบัติในการป้องกันการรั่วซึม |
การขนส่งและเก็บรักษา | เป็นชิ้นเดียวกับแผ่นหลังคาเมทัลชีท ง่ายต่อการขนส่งและเก็บรักษา | ฉนวนกับแผ่นหลังคาเมทัลชีทแยกกัน สิ้นเปลืองเนื้อที่ในการขนส่งและเก็บรักษา | ฉนวนกับแผ่นหลังคาแยกกันสิ้นเปลืองเนื้อที่ในการขนส่งและเก็บรักษา | ฉนวนกับแผ่นหลังคาเมทัลชีทแยกกันสิ้นเปลืองเนื้อที่ในการขนส่งและเก็บรักษา |
การประกอบและติดตั้ง | ฉีดติดกับ แผ่นเมทัลชีท ติดตั้งเสร็จในขั้นตอนเดียว | ติดตั้งสองขั้นตอน | ติดตั้งสองขั้นตอน | ติดตั้งสองขั้นตอน |